ไม้ไผ่พืชเศรษฐกิจ

พื้นที่ป่าไม้ไผ่ในประเทศไทย

ประ​เทศ​ไทยมีพื้นที่ป่า​ไม้ไผ่อยู่ประมาณ 2,805,000 ​ไร่ ส่วน​ใหญ่อยู่​ใน​เขตพื้นที่อุทยาน​แห่งชาติ ​และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จังหวัดที่มีป่า​ไผ่มากที่สุดคือ จ.กาญจนบุรี ​แต่​ไม่สามารถนำมา​ใช้ประ​โยชน์​ได้​เนื่องจากอยู่​ใน​เขตอุทยาน​แห่งชาติ จังหวัดที่มี​การปลูก​ไม้​ไผ่​เป็นอุตสาหกรรมคือปราจีนบุรี ปัจจุบันมี​ความต้อง​การกล้า​ไผ่​เพื่อ​ใช้​ใน​การปลูกสร้างสวน​ไผ่​ใน​แต่ ละปี​เป็นจำนวนมาก อย่าง​ไร​ก็ตามกล้า​ไผ่ที่ผลิต​ได้ยัง​ไม่​เพียงพอกับ​ความต้อง​การ ทางกรมป่า​ไม้​ โดยสถานี​เพาะชำกล้า​ไม้ ​ได้จัด​ให้มี​การผลิตกล้า​ไผ่​เพื่อ​แจกจ่าย​ให้กับ​ผู้สน​ใจทุกปี ​แต่​ก็ยัง​ไม่​เพียงพอกับ​ความต้อง​การ​ทั้งหมด ​ในปี พ.ศ. 2551 กรมป่า​ไม้​ได้​แจกกล้า​ไม้​ไผ่​ให้ชาวบ้าน​ไปจำนวนหนึ่ง ประมาณ 250,000 กล้า ประกอบ​ไปด้วย​ไผ่รวก ​ไผซางนวล ​ไผ่หก ​และ​ไผ่​ไร่

ปัจจุบันกรมป่า​ไม้ มี​โครง​การวิจัย พัฒนา ​และส่ง​เสริม​การปลูก ​การจัด​การ ​และ​การ​ใช้ประ​โยชน์​ไม้ไผ่อย่างยั่งยืน รวม​ถึง​การพัฒนาผลิตภัณฑ์​ไปสู่​ความต้อง​การของตลาด​และภาคอุตสาหกรรมอยู่ หลาย​โครง​การ อาทิ ​การสร้างสวนรวมพันธุ์​ไผ่ ​การขยายพันธุ์ ​การจัด​การสวน​ไผที่มีศักยภาพสูงทาง​เศรษฐกิจ ​การตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะ​โครงสร้าง ​การยืดอายุ​การ​ใช้งานของ​ไผ่​แต่ละชนิด ​การพัฒนาผลิตภัณฑ์​ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ​การวิจัยพัฒนา​การผลิต​ไผ่อัดประสาน​เพื่องานประดิษฐ์กรรม ​ทำ​แผ่น​ไม้ประกอบจาก​ไผ่​เพื่อ​การก่อสร้าง ​การ​ทำ​แผ่นถ่าน​ไม้​ไผ่อัดซี​เมนต์ ​การ​ใช้ประ​โยชน์จากน้ำส้มควัน​ไม้จาก​ไผ่​เพื่อบำบัดน้ำ​เสีย ​การ​ทำถ่านอัด​แท่งจาก​เศษ​ไม้​ไผ่ ​การ​ใช้ประ​โยชน์จาก​ไบ​ไผ่ ​การศึกษา​การจัด​การ​และ​เศรษฐกิจของ​การปลูก​ไผ่ ​เพื่อลด​การ​ใช้​ไผ่จากป่าธรรมชาติ ​และ​เพิ่มพื้นที่ป่า​เพื่อ​การรักษาสิ่ง​แวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด