ไม้ไผ่พืชเศรษฐกิจ

แหล่งซื้อขายพันธ์ไม้ไผ่

แหล่งซื้อขายพันธ์ไม้ไผ่

1. สวนไผ่นานาพันธุ์ จ.ปราจีนบุรี / ไผ่สีสุกสั่ง 300 ต้นๆ ละ 40 บาท / K.สายสุนีย์ 087-781-6752, 082-704-0245 / วันที่ 10-15 ส.ค. 53 จะไปเปิดบูทที่งานแสดงไผ่

2.สวนนาวาเอก จ.พิจิตร / ไผ่สีสุกสั่ง 300 ต้นๆ ละ 35 บาท / K.อนุรักษ์ 086-889-6650, 082-816-5780 / ฟรีค่าจัดส่ง


3. กรุงเทพฯ : (โทรสั่งจองล่วงหน้าครับ อาจหมด)
79/135 ซ.รามอินทรา 123 ถ.รามอินทรา เขตมีนบุรี
GPS พิกัด ละติจูด น.13.8158590 ลองกิจูด อ.100.7122669


สำนักงาน : 289/12 ม.เพอร์เฟค พาร์ค เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

โทร. 086-8896650 , 082-8165780 , 086-8989188


4. สวนไผ่โพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี / ไม่มีไผ่สีสุกขาย แต่มีข้อมูลพันธุ์ไผ่ต่างๆ ที่ดีมาก ปรึกษาได้ / K.ประหยัด 084-219-0716


5. ไผ่ บงหวานเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามองอีกตัวหนึ่ง ซึ่งคุณลักษณะโดดเด่นของไผ่พันธุ์นี้คือ หน่อสามารถทานดิบได้โดยไม่ต้องต้ม มีรสชาดหวานกรอบ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 08-7322-9446 หรือ www.suansorapop.com สมบูรณ์


6. จำหน่าย กล้าพันธุ์ ไผ่ตงลืมแล้ง, ไผ่กิมซุง, ไผ่ตงไต้หวัน, ไผ่หม่าจู, ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล,ไผ่ซางราชินี , ไผ่บงหวาน , ไผ่บงหวานหนองโดน , ไผ่หวานสีทอง , ไผ่เลี้ยงหวาน , ไผ่ข้าวหลาม , ไผ่ดำ , ไผ่หก , ไผ่ตงดำ , ไผ่น้ำเต้ายักษ์ ,ไผ่ไจแอ้นท์ , ไผ่จีนปักกิ่ง และมีไม้ไผ่ขายจำนวนมาก

ขายกล้าไม้ ยางนา , ตะเคียนทอง , มะฮอกกานี , พยุง , ประดู่ , ชิงชัน , กันเกรา , มะค่าโมง , คูณ , กระถินเทพา , พยอม ,เต็ง , รัง , แดง , กระบาก , สักทอง , มะตูม , มะรุม , ผักหวานบ้าน , ต้นยอ กล้าไม้ปลูกป่าหลายชนิด จำนวนมาก

ไม้ ผล : มะม่วงมหาชนก , มะม่วงเขียวเสวย , มะม่วงโชคอนันต์ , มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง , มะม่วงทองดำ , มะม่วงอกร่อง , มะม่วงหนองแซง , มะม่วงฟ้าลั่น , มะม่วงเพชรบ้านลาด , ขนุนจำปากรอบ , ขนุนทองประเสริฐ , ขนุนทวาย , มังคุด ,
ลองกอง , ทุเรียนหมอนทอง , ฝรั่ง ,น้อยหน่า , มะนาวแป้นพิจิตร , มะพร้าว

โทร. 086-8896650 , 082-8165780 , 086-8989188


แหล่งซื้อขายพันธ์ไม้ไผ่

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=11817.0


สอบถามข้อมูล


http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=19908.0



พันธุ์ไผ่ที่ควรปลูกแบ่งตามประโยชน์ใช้สอย

กลุ่ม ที่ 1 ไม้ไผ่ที่ให้ผลผลิตหน่อสำหรับเป็นอาหาร ได้แก่ ไผ่ตง ไผ่บงใหญ่ ไผ่บงหวาน ไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หม่าจู ไผ่หวาน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่หก ไผ่รวกดำ ไผ่ซาง ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่ซางนวล ไผ่เม้งซ้น ไผ่ตงลืมแล้ง และไผ่ไต้หวัน


กลุ่ม ที่ 2 ไม้ไผ่ที่ให้ผลผลิตลำในการก่อสร้าง ทำฟาก เสา ค้ำยัน แผ่นสานไม้ไผ่ ไม้ไผ่อัด และเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงดำ ไผ่ตงดำ ไผ่ยักษ์ ไผ่บงใหญ่ ไผ่เป๊าะ ไผ่หก ไผ่ซาง ไผ่ซางนวล ไผ่ซางหม่น ไผ่ไร่ ไผ่ลำมะลอก ไผ่บาง ไผ่รวกดำ ไผ่หม่าจู ไผ่ตงลืมแล้ง และไผ่นวลราชินี


กลุ่ม ที่ 3 ไม้ไผ่ที่ให้ผลผลิตลำสำหรับทำเครื่องจักสานและหัตถกรรม ได้แก่ไผ่สีสุก ไผ่ซางนวล ไผ่ซาง ไผ่ป่า ไผ่รวกดำ ไผ่ไร่ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ชี้ และไผ่นวล


กลุ่มที่ 4 ไผ่ที่เหมาะสำหรับใช้ลำทำเป็นภาชนะหุงต้มและปรุงอาหาร ได้แก่ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ป่า ไผ่สีสุก และไผ่ตง


กลุ่ม ที่ 5 ไม้ไผ่ที่ให้ผลผลิตลำที่เป็นวัตถุดิบในอุตสากรรมเยื่อกระดาษ ได้แก่ ไผ่เป๊าะ ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่ซาง ไผ่ซางนวล ไผ่ตง ไผ่เหลือง ไผ่บงใหญ่ ไผ่หก ไผ่หม่าจู ไผ่บาง และไผ่บงดำ


กลุ่ม ที่ 6 ไม้ไผ่ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือนิยมปลูกตามบ้าน เพราะมีชื่อเป็นศิริมงคล ได้แก่ ไผ่ทอง ไผ่ดำ ไผ่น้ำเต้า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่เหลือง และไผ่ข้าวหลาม


กลุ่ม ที่ 7 ไม้ไผ่ที่นิยมปลูกเป็นรั้ว หรือใช้ปลูกเป็นแนวกันลม และป้องกันตลิ่งพัง ได้แก่ ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ป่า ไผ่สีสุก และไผ่บงดำ

เจาะจงลงไปอีกตามประโยชน์ใช้สอยนะคะ

  • อุตสาหกรรมประมงทะเล ได้แก่ ไผ่รวก
  • อุตสาหกรรมตะเกียบไม้เสียบอาหาร ได้แก่ ไผ่ซางป่า
  • อุตสาหกรรมจักสาน ได้แก่ ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางหวาน, ไผ่ซางป่า, ไผ่บง
  • อุตสาหกรรมหน่อไม้กระป๋อง ได้แก่ ไผ่ตง , ไผ่หก
  • อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ ไผ่ซางบ้าน,ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางหม่น, ไผ่บงคาย, ไผ่เลี้ยง, ไผ่ตง, ไผ่หก, ไผ่ตงลืมแล้ง
  • อุตสาหกรรมไม้ปาเก้ ได้แก่ ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางบ้าน
  • อุตสาหกรรมกระดาษ ได้แก่ ไผ่ทุกชนิด เช่น ไผ่ตง, ไผ่หก, ไผ่หม่าจู, ไผ่ซาง ฯลฯ
  • ไผ่ เพื่อบริโภค ได้แก่ ไผ่ซางหวาน, ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล, ไผ่เป๊าะ, ไผ่หม่าจู, ไผ่บงหวาน, ไผ่หก, ไผ่บง, ไผ่เลี้ยง, ไผ่ตงลืมแล้ง, ไผ่กิมซุง, ไผ่ตงหวานไต้หวัน

ปลูกไผ่รายได้ดีกว่ายางพารา

ภาคใต้ตื่นปลูกไผ่ ชี้รายได้ดีกว่ายางพารา ปาล์ม, ข้าว, เฉลี่ยมีรายได้ประมาณ 15,000 บาท/เดือน จากการขายหน่อเท่านั้น ยังไม่นับส่วนอื่นๆ ขณะนี้ ลุย "ปลูกไผ่" ระบุ 2 ล้านไร่มีรายได้ถึง 2.4 ล้านล้านบาท กลุ่มปลูกไม้ไผ่เตรียมผลักดันตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันมูลค่า 2 พันล้านบาท สามารถผลิตได้วันละ 6 แสนลิตร ทั้งดีเซล เบนซินและน้ำมันเครื่องบิน ตั้งได้ใน จ.สงขลา กำแพงเพชร และพิษณุโลก


นางขวัญใจ กลับสุขใส เจ้าของสวนไผ่ใน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และเหรัญญิกชมรมผู้ปลูกไผ่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีการตื่นตัวปลูกไผ่กันมาก โดยเฉพาะพัทลุงปลูกแล้วประมาณ 500 ไร่ ขยายตัวประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์/ปี ตอนนี้พัทลุงเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ที่ปลูกไม้ไผ่และขณะนี้ได้ขยายตัวไปยัง จ.สงขลา โดยได้ข้ามไปซื้อพันธุ์ไม้ไผ่กันจำนวนมากในแต่ละวัน ไม้ไผ่ใช้ได้ทั้งหมด ให้รายได้ประมาณ 15,000 บาท/เดือน โดยเฉพาะขายหน่อเท่านั้น ยังไม่นับส่วนอื่นๆ ซึ่งสร้างรายได้ดีกว่ายางพารามาก โดยจะให้รายได้ประมาณ 500-900 บาทต่อวัน และจะให้ผลผลิตตลอดปี


นายสัญญา วัชรพันธ์ ประธานชมรมไผ่สีทองภาคใต้ เปิดเผยว่า ตนเองปลูกไผ่ประมาณ 30 ไร่ โดยเป้าหมายในกลุ่มจะมีการปลูกไผ่ประมาณ 1 หมื่นไร่ ประมาณ 1 พันราย ในพื้นที่ จ.สงขลา และตอนนี้ได้ปลูกไปแล้วประมาณ 100 ราย เฉลี่ยปลูกประมาณ 5 ไร่/ราย โดยปลูกแบบธรรมชาติในนากุ้งกุลาดำที่ได้เลิกเลี้ยงไปแล้ว จะทยอยปลูกเพิ่มขึ้นตามลำดับเพื่อให้เกิดความมั่นคง โดยกลางปี 2556 จะสัมฤทธิผลสามารถป้อนไม้ไผ่เข้าสู่ตลาดได้ และภายใน 5 ปีจะเต็มพื้นที่เป้าหมาย ในระยะ 10 ปีจะทำการพัฒนาครบวงจร


นายมะนัด ละม้ายศรี เจ้าของสวนไผ่ประมาณ 30 ไร่ ประธานกลุ่มไม้ไผ่ 9 เปิดเผยว่า ไม้ไผ่ทั่วประเทศทั้งไผ่ป่าและปลูกเองมีประมาณ 5 ล้านไร่ โดยที่ปลูกเองประมาณ 2 แสนไร่ ไผ่จะให้รายได้ประมาณ 250,000-300,000 บาทต่อปี/ไร่ ดีกว่าทำนา 50 เท่า ให้ผลประโยชน์ตั้งแต่กิ่ง ต้น หน่อ ใบและกิ่งอ่อน ปลูกครั้งเดียวให้ผลผลิตได้ถึง 50 ปี ไผ่ให้พลังงานทดแทนเป็นชีวมวล 200-250 ตัน/ไร่ คิดเป็นเงินถึง 3 แสนบาท และสามารถผลิตน้ำมันดีเซล เบนซิน และน้ำมันเครื่องบินได้ สามารถสกัดน้ำมันได้ 50,000 ลิตร/ไร่/ปี ไผ่ประมาณ 10,000 ไร่ หากมีโรงงานอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันจะกลั่นได้ถึง 6 แสนลิตรต่อวัน แถมเหลือทำแก๊สและสามารถผลิตชีวมวลได้อีก 2.5 ล้านตัน


นายมะนัดกล่าวว่า ที่ อ.ระโนด จ.สงขลา มีโครงการปลูกไม้ไผ่ประมาณ 1 หมื่นไร่ จากฟาร์มกุ้งกุลาดำ ตรงนั้นหากมีเงินลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันประมาณ 2 พันล้านบาท ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะไผ่ 10 ไร่ให้ผลประโยชน์แก่เจ้าของสวนถึง 3 ล้านบาท/ปี โดยไม่เกิน 2 ปีก็จะประสบความสำเร็จ มีต้นไผ่ประมาณ 2 ล้านไร่สามารถทำรายได้ปีละ 2.4 ล้านล้านบาท แต่ต้องมี 3 โครงการคือ โรงกลั่นน้ำมัน โรงอุตสาหกรรมแก๊ส และโรงอุตสาหกรรมคาร์บอนกัมมันต์ ซึ่งในประเทศอเมริกาดำเนินการมาแล้ว 10 ปี และในประเทศสวีเดนก็ใช้ไม้ไผ่เป็นพลังงานเช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำสามารถผลิตได้ถึง 25 เมกะวัตต์ โดยใช้วัตถุพลังงานจากไม้ไผ่ ใช้พื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ซึ่งในส่วนนี้เตรียมจดสิทธิบัตรไว้แล้ว


นายมะนัดกล่าวว่า ในกลุ่มขณะนี้มีโครงการสร้างโรงกลั่นลงทุนประมาณ 2 พันล้านบาท มีเนื้อที่ครบวงจรประมาณ 1 หมื่นไร่ พื้นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันประมาณ 500 ไร่ นอกนั้นจะทำเป็นนิคมปลูกไม้ไผ่ ขณะนี้แหล่งเงินกู้ต่างประเทศพร้อมให้กู้ทันที แต่ทางกลุ่มจะต้องมีเงินสดสมทบประมาณ 50 ล้านบาท สถาบันการเงินจึงจะให้
"โดยโรงงานอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันนำมาจากสหรัฐอเมริกา โรงงานอุตสาหกรรมแก๊สจากประเทศสวีเดน และโรงงานอุตสาหกรรมคาร์บอนกัมมันต์จากประเทศออสเตรเลีย ตอนนี้เงินสมทบยังขาดอยู่ หากนักลงทุนรายใดสนใจติดต่อประสานงานมาได้ แต่ที่สำคัญรัฐบาลน่าให้ความสนใจโครงการนี้มากกว่า เพราะเพลังงานทดแทนมีความสำคัญเร่งด่วน โดยให้กลุ่มกู้เงิน ซึ่งจะสามารถคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้เมื่อโครงการเสร็จภายใน 1 ปี" นายมะนัดกล่าว


ที่มา:ไทยโพสต์การค้าและการลงทุน

การปลูกไผ่

ฤดูปลูก

ควร ปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย แต่ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปี

การเตรียมพื้นที่

ควร เตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชเท่านั้น


ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสมระหว่างต้น x ระหว่างแถว ขึ้นอยู่กับขนาดของไผ่และสภาพของดิน เช่น ไผ่ตง ระยะปลูก คือ 6-8 x 6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกไผ่ตงได้ประมาณ 25-45 ต้น ถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อยเจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี

การเตรียมหลุมปลูก

หลุมที่ปลูกไผ่ควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ขึ้นอยู่กับชนิดของไผ่ เช่น ไผ่ตง ขนาดหลุมไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง

การปลูก

ถ้า เป็นต้นกล้าไผ่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง สำหรับการคัดเลือกต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการชำกิ่งแขนงนั้น ให้พิจารณาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงตามชนิดไผ่ ซึ่งมีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจาก การทำลายของโรคและแมลงการปลูกควรนำต้นกล้าไปปลูกตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ ปลูกให้ลึกเท่ากับระดับดินเดิมแล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้น เล็กน้อย ใช้ไม้ปัก เป็นหลักผูกยึดต้นไผ่ เพื่อป้องกันลมโยก หลังจากนั้นต้องรดน้ำตามทันที เพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก นอกจากนี้ต้นไผ่ที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูง ต้องใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ช่วยพรางแสงแดด จนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยปลดออก

ที่มา : กรมป่าไม้

ไม้ไผ่ (Bamboo) ไม้คู่วิถีคนไทย

ไม้ไผ่ (Bamboo) เป็นไม้ประจำวิถีชีวิตอยู่คู่คนไทยมานาน เมื่อชุมชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดจะปลูกไม้ไผ่ไว้เป็นรั้วของหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นจะปลูกไผ่ไว้ริมทางหรือริมรั้วบ้านเพื่อใช้สอยเป็นที่อยู่อาศัย ฯล ใช้เป็นอาหาร ไม้ไผ่เป็นไม้โตเร็ว และสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น หน่อไผ่ (หน่อไม้)สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ อุหน่อไม้ หมก ซุปหน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย เมื่อไผ่มีอายุได้ประมาณ 1 ปี สามารถตัดมาทำข้าวหลามได้ เพราะเยื้อไผ่กำลังดีมีประโยชน์

เมื่อไม้ไผ่อายุได้ 2 ปี ก็สามารถนำมาจักสานเป็นเครื่องใช้ในการจับสัตว์น้ำ ประเภท ลอบ ไซ ฯลฯ เมื่อไผ่มีอายุมากขึ้นก็สามารถนำมาทำประโยชน์อย่างอื่น ๆ ได้ตั้งแต่ทำรั้วบ้าน พื้นบ้าน เรียกอีกอย่างว่า ฟาก (ฟาก หมายถึง การนำไม้ไผ่มาเจาะเอาปล้องออก แล้วตีแผ่ออกใช้ปูเป็นพื้นบ้าน แทนกระดาน เรียกว่า ฟาก) ฝาบ้าน ทำเล้าไก่ เล้าหมู ทำร้านให้ต้นบวบ แตง เป็นต้น

ปัจจุบันสามารถหาไม้ไผ่ได้บ้างตามชนบท และ home stay เพราะนิยมนำไม้ไผ่ไปทำพื้นบ้านฝาบ้าน เนื่องจากราคาถูกหาได้ง่าย และที่สำคัญข้อดีของพื้นบ้านฝาบ้านชนิดนี้คือจะโปร่ง ลมสามารถพัดผ่านได้ตลอด ทำให้เย็นสบายทั้งในฤดูร้อนและฝน แต่อาจจะไม่ดีนักในหน้าหนาวเพราะกันลมไม่ได้ และเวลาเดินเรือนที่ปูด้วยฟาก จะต้องค่อย ๆ เดิน เพราะจะมีเสียงดัง เนื่องจากการขยับตัวของไผ่ แต่ก็เป็นการสอนให้คนไทยมีกิริยามารยาทนุ่มนวลไปโดยปริยาย

จะ
เห็นได้ว่า ไม้ไผ่ สามารถทำประโยชน์ได้หลากหลายมากตั้งแต่งานโครงสร้าง เช่น สร้างบ้าน ไปจนถึงของใช้ในบ้าน เช่น ตะกร้ากระเช้า ภาชนะใส่เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ จนถึงงานละเอียด ๆ เช่น จักสาน เพราะเนื้อไผ่มีความเหนียวสามารถเหลาให้เล็กได้เกือบเท่าเส้นผมทีเดียว และนี้เองคือประโยชน์ของไผ่มีมากมายมหาศาลกันเลยทีเดียว ผมแนะนำว่าถ้าใครมีพื้นที่เหลือในบ้านท่านควรที่จะปลูกไว้ซักกอครับเพราะนอกจากเป็นอาหารและทำเครื่องใช้ไม้สอยได้แล้ว ไม้ไผ่เขายังจะสร้างออกซิเจนให้ท่านได้เป็นอย่างดี มีต้นไผ่กอเดียวในบ้าน บ้านท่านจะร่มเย็นขึ้นมากที่เดียวครับ ไม่เชื่อลองดูครับ

ปัจจุบันพบว่าการใช้ผลิตภัณฑ์จากไผ่มีน้อยลง เพราะมีผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยี่สมัยใหม่เข้ามาท
ดแทน ส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกที่หาซื้อได้ง่าย ทดทาน แต่ข้อเสียคือย่อยสลายได้ยากกว่า และนี่นับเป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นปัจจุบันจึงได้มีการส่งเสริมและพื้นฟู ให้คนหันกลับมาใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไผ่ ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อยางมาก เพราะจากงานวิจัยพบว่า ต้นไผ่เป็นต้นไม้ที่สร้าง O2 ได้มากที่สุดในโลก และยังเป็นการช่วยอนุรักษ์และพื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยให้คนคืนถิ่นกลับมาทำงาน ณ บ้านเกิดได้อีกมาก ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า ไผ่ เป็นไม้โตเร็ว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ในขณะที่เป็นหน่อไม้ เมื่อโตขึ้นสามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์ ใช้ในครัวเรือน และออกจำหน่ายได้ ชาวบ้านแถบชนบททั่วไป รวมถึงชาวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ยังคงใช้ภาชนะสานจากไม้ไผ่อยู่ อาทิ กระบุง ตะกร้า กระด้ง เป็นต้น

ความนิยมในไม้ไผ่ลดน้อยลงสวนทางกับกระแสจากทางฝั่งตะวันตก ที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ไผ่ กำลังได้รับความนิยมเป็
นอย่างมากจากฝรั่งต่างชาติเพราะไม้ไผ่เมื่อได้รับการออกแบบอย่างดีจะมีทั้งเสน่ห์ และกลิ่นหอมของไม้ธรรมชาติทำให้น่าใช้น่าสะสม ดังนั้นตอนนี้แม้กระทั่งต่างประเทศเองก็กำลังปลูกเลี้ยงไผ่เป็นไม้เศรษฐกิจจำนวนมากแล้วทำไมคนไทยที่อยู่กับไผ่มาเกือบทั้งชีวิตจึงเพิกเฉยต่อมรดกและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเองได้เล่า

วิธีการขยายพันธุ์ไม้ไผ่ (รวม)

การขยายพันธุ์ไม้ไผ่
โดย ทั่วไปการขยายพันธุ์ไผ่นอกจากการเพาะจากเมล็ดไผ่แล้ว จะทำการขยายพันธุ์โดยการแยกลำพร้อมเหง้า การปักชำส่วนของลำ การปักชำกิ่ง การแยกกอขนาดเล็ก และการตอนกิ่ง (โกวิทย์ และคณะ, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) ไผ่สามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธี (กิสณะ และสุพล, 2548) คือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกเหง้า ชำปล้อง และการขยายพันธุ์โดยการปักชำแขนง ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

1. การเพาะเมล็ดไผ่ เมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย สามารถนำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปทำการเพาะต่อไปโดยวิธีการดังนี้
  • การเก็บเมล็ดพันธุ์
- เมล็ด ไผ่เมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น ให้ทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียน เพื่อความสะดวกในการรวบรวมเมล็ดไผ่ หรือใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ กรณีเขย่าต้นให้เมล็ดร่วงจากต้น
- รวบรวม เมล็ดพันธุ์ไผ่ที่ได้ ทำการฝัดด้วยกระด้งจะได้เมล็ดที่สมบูรณ์
- นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก
- นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งแดด ประมาณ 1 แดด จึงนำไปเพาะได้ เพื่อป้องกันแมลงและไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง
  • วิธีการเพาะกล้าไผ่
-เมล็ดไผ่ที่จะเพาะ ให้ขัดเอาเปลือกนอกออกก่อน เพื่อให้เมล็ดงอกเร็วและเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
-นำเมล็ดไปแช่น้ำ 2 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน
-นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ แล้วห่อหุ้มเมล็ดด้วยผ้ารดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก
-นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 เซนติเมตร คลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว
-ทำการย้ายกล้า ภายหลังจากการเพาะลงแปลงแล้วประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นกล้าไผ่จะมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่มรำไร ประมาณ 6-8 เดือน ก็นำไปปลูกต่อไป

2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เราสามารถใช้ต้นกล้าไผ่ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะชำกิ่งแขนงออกดอกและตาย เพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ที่มีอายุมากพร้อมที่จะออกดอกกิ่งแขนงนั้นจะ มีอายุเท่ากับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกจะออกดอกตายด้วยเช่นกัน

3. การขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เหง้า
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องคัดเลือกเหง้าที่มีอยู่ 1-2 ปี จะตัดให้ตอสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับตอออกจากกอแม่เดิม โดยระวังอย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป ส่วนหน่อขนาดเล็กที่ขุดขึ้นมา สามารถแยกกอไปปลูกได้เช่นกัน การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มากจึงมีอัตราการอดตาย สูงทำให้หน่อแข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือ ลำ ได้พันธุ์ตรงกับสายพันธุ์เดิม

4. การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อนๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ซึ่งการใช้ท่อนตัด 1 ข้อ จะต้องตัดตรงกลางและให้รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ และควรเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่โดยจะต้องตัดให้แขนงเหลือยาวประมาณ 1 คืบ ด้วย จากนั้นจึงนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดินและให้ตาหงายขึ้น ระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย แล้วใส่น้ำลงในปล้องไผ่ให้เต็ม และคอยเติมน้ำให้อยู่เต็มอยู่เสมอ
การเพาะวิธีนี้จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำให้ความชุ่มชื่นอยู่เสมอหลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่ ประมาณ 6-12 เดือน จึงทำการย้ายปลูกได้

5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
กิ่งแขนง คือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้เด่นชัด โดยมีการคัดเลือกดังนี้
-ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว
-ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน
-ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี
  • ขั้นตอนในการปักชำกิ่งแขนง
เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ จากนั้นตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
-ไถพรวนดิน แล้วควรตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ทำการย่อยดินและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ดอนน้ำท่วม ไม่ถึง และถ้าเป็นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี
-ขุดให้ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร
-นำกิ่งแขนงปักชำลงในร่องให้ห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบให้แน่น รดน้ำทันที หลังจากชำเสร็จแล้วทำหลังคาด้วยทางมะพร้าวเพื่อบังแดด หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
-หลังจากปักชำแล้วประมาณ 6-8 เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้ การปักชำกิ่งแขนงอาจดำเนินการเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน

ที่มา :กรมป่าไม้. 2541. การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. 168 น.

อุตสาหกรรมไม้ไผ่ พืชเศรษฐกิจ

ในระดับอุตสาหกรรม ไม้ไผ่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายประเภทตามประโชน์ใช้สอย ได้แก่

ไผ่อัด เป็นการผสมผสานด้านการใช้ประโยชน์ระหว่างไผ่กับกาว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความทนทานของผลิตภัณฑ์แผ่นไผ่อัด ใช้ผลิตเครื่องเรือนต่างๆ และสำหรับการตกแต่งภายในอาคารบ้านเรือน และใช้เพื่อแทนไม้แบบก่อสร้าง ซึ่งมีสมบัติที่ดีคือเมื่อแห้งแล้วไม่ดูดน้ำทำให้สามารถนำมาใช้ทำแบบได้หลายครั้ง (6-8 ครั้ง มากกว่าไม้แบบเดิมซึ่งได้เพียง 2 ครั้ง)

ปี 2535 มี 4 โรงงาน คือ จังหวัดกาญจนบุรี 1 โรงงาน (หจก.อุตสาหกรรมไม้ไผ่ไทย) จังหวัดลำพูน 1 โรงงาน (หจก.นอร์เธินเอนเตอร์ไพร์สลำพูน) และที่กรุงเทพมหานครอีก 2 โรงงาน ไผ่อัดใช้ไผ่ซางนวล ไผ่ตง ซึ่งต้องมีลำไผ่ค่อนข้างโต ปล้องยาวและมีเนื้อหนา ไผ่นวลควรใช้ไผ่สดไม่มีขนตามลำต้น อายุประมาณ 2-3 ปี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 8 เมตร ขึ้นไป ราคาประมาณ 13-15 บาทต่อลำ
เยื่อกระดาษไผ่ ไผ่เป็นพืชที่มีเส้นใยยาวมากจึงเหมาะสมต่อการนำไปใช้ทำกระดาษให้ผลผลิตเยื่อกระดาษสูงและได้กระดาษที่มีคุณภาพดี มีโรงงานที่ จังหวัดขอนแก่น (บริษัทพินิคซ์พัลพ์แอนด์เพเพอร์ จำกัด) ใช้ไผ่รวกและไผ่ป่าจำนวน 300,000 ต้นต่อปี ต้องใช้พื้นที่ในการปลูกไผ่ไม่น้อยกว่า 150,000 ไร่ แต่ส่งเสริมการปลูกได้เพียง 6,000 ไร่เท่านั้น (2535) (นอกจากนี้ยังใช้ปอและไม้ยูคาลิปต์เป็นวัตถุดิบด้วย) จังหวัดกาญจนบุรี (บริษัทสยามคราฟท์ จำกัด) รับซื้อไผ่ราคา 800 บาท/ตัน (นอกจากนี้ยังใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบด้วย) จังหวัดพิษณุโลก ใช้ไผ่ทำกระดาษไหว้เจ้าส่งต่างประเทศ เป็นต้น
ไผ่รวกดัด เพื่อการส่งออกไม่มีการแปรรูปแต่อย่างใด เพียงแต่ผ่านกรรมวิธีบางอย่างเพื่อรักษาเนื้อไม้และแบ่งคุณภาพเท่านั้น โดยเสียภาษีการส่งออกเพียง 5 % ของราคาส่งออก (ไผ่ชนิดอื่น ๆ และไม้จะเสียภาษีการส่งออกถึง 40 % ของราคาส่งออก (2535)) ราคาไผ่รวกลำละ 0.70-1.50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและความยาว ที่เหมาะสมควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไปเพื่อให้การอาบน้ำยาป้องกันมอดและแมลงได้ผลดี ประเทศที่ส่งไป ได้แก่ ประเทศแถบยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร ส่วนแถบตะวันออกกลางและปากีสถานนิยมนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสร้างบ้านเรือน เต้นท์ทหาร กระโจมที่พัก เป็นต้น
เข่งไผ่ เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทหนึ่งในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือน โดยนำผิวของไผ่มาจักตอกเป็นเส้นแล้วนำมาจักสานขึ้นรูป ไผ่ที่ใช้คือไผ่รวกและไผ่นวล
ตะเกียบไผ่ ใช้ไผ่ซาง โรงงานผลิตมีที่ จังหวัดกาญจนบุรี (โรงงานเควีเอ็มเปเปอร์) และ จังหวัดลำปาง เป็นต้น เครื่องจักรทำตะเกียบมีการพัฒนาส่งเสริมโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ราคาประมาณ 8 หมื่นบาท) ทั้งนี้เพื่อลดการนำเข้าเครื่องจักรจากไต้หวัน ญี่ปุ่น ไผ่ที่ใช้คือไผ่นวล ที่มีอายุ 2-3 ปีขึ้นไป และเป็นลำใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8 เซนติเมตรขึ้นไป (จังหวัดกาญจนบุรี มีการนำไผ่จากพม่ามาใช้ด้วย)
ไม้จิ้มฟัน เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ใช้ไผ่ซาง มีการผลิตที่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดชัยนาท เป็นต้น (ไม้จิ้มฟันที่ผลิตมาจากไม้ปอ ไม้งิ้ว และยางพารา มีข้อเสียคือเปราะและหักง่าย)
ไม้ซีก เป็นการผ่าไผ่เป็นซีก ใช้ทำคอกสัตว์ หรือส่งโรงงานทำไม้จิ้มฟัน ตะเกียบ ไม้เสียบลูกชิ้น ไม้เสียบไก่ย่าง ไม้เสียบดอกไม้ เป็นต้น ไม้ซีกมี 2 ลักษณะ คือ ไผ่ผ่าซีก (จังหวัดลำปาง เรียกว่าไม้สะลาบ) โดยนำไผ่มาซอยตามยาวและตัดเป็นซีก แต่ละลำซอยได้ประมาณ 8-10 ซีก ตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 1-2.5 เมตร ขึ้นไป มัดหนึ่งมีไผ่ 50 ซีก โดยปกติไม้ซีก 1 มัด ใช้ไผ่ 2 ลำ ไม้ซีกอีกลักษณะหนึ่ง คือ ไม้ตะเกียบ เป็นไม้ซีกขนาดเล็ก ความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ขึ้นไป ไผ่แทบทุกชนิดสามารถทำเป็นไม้ซีกได้ ส่วนใหญ่นิยมไผ่นวล
หัตถกรรมจักสานอื่นๆ ไผ่หลายชนิดใช้ทำหัตถกรรมเครื่องจักสานได้ ถือเป็นศิลปะพื้นบ้าน เพื่อใช้สอยในครัวเรือนของชีวิตประจำวัน เช่น กระด้งฝัดข้าว ตะแกรงร่อนข้าว ฝาชี กระบุง ตะกร้า กระจาด กระเป๋า ครุ เป็นต้น ไผ่สีสุก เป็นไผ่ที่นิยมใช้จักสานมากที่สุด โดยเลือกอายุ 2-3 ปี ซึ่งจักตอกได้ง่าย (ถ้าอ่อนเกินไปจะไม่ทนทาน ถ้าแก่เกินไปเส้นตอกจะหักง่าย) หัตถกรรมไผ่ที่ส่งออก เช่น มู่ลี่ กันแดด ที่ จังหวัดกาญจนบุรี หัตถกรรมไผ่ที่มีฝีมือประณีต ที่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ใช้ไผ่นวล ซึ่งลำปล้องยาวถึง 1 เมตร มีเนื้อเหนียว หักยาก

ไม้ไผ่ พันธ์ที่ใช้ในงานจักสาน

ไม้ไผ่ พันธ์ที่ใช้ในงานจักสาน

ไม้ไผ่ (ฺBamboo) เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่นิยมนำมาทำเครื่องจักสานกันแพร่หลายที่สุด เพราะมีทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ ไม้ไผ่ในประเทศไทยมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้ดีแตกต่างกันไป โดยที่นิยม คือ

  • ไม้ไผ่สีสีสุก นิยมนำมาทำเครื่องจักสานกันอย่างแพร่หลายทุกภาคของประเทศ เพราะมีผิวสวย เนื้อหนา และแข็ง ลำต้นตรง นำมาทำเครื่องจักสานและใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • ไม้ไผ่ซาง เป็นไม้ขนาดกลาง ปล้องยาว เนื้ออ่อน ขึ้นทั่วไปในภาคเหนือ นิยมนำมาทำเป็นเครื่องจักสานได้ดี
  • ไม้ไผ่บงหรือไผ่ตง ไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นตรง ไม่มีหนาม นำมาทำเป็นเครื่องจักสานได้ดี

ไม้ไผ่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องจักสานได้ยังมีอีกหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ไม้ไผ่หก ไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่ ป้าว ไม้ไผ่เหล่านี้นำมาทำเครื่องจักสานได้มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ทำเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระบุง ตะกร้า กระจาด จนถึงทำเป็นเครื่องมือสำหรับ ดัก จับ ขัง สัตว์น้ำจำพวกตะข้อง กระชัง สุ่ม อีจู้ ฯลฯ เป็นต้น

ไม้ไผ่ สมุนไพรยาวิเศษ

สรรพคุณ รักษาโรคไต คนเขมรเชื่อว่าน้ำมันจากลำต้นไผ่สามารถรักษาโรคหอบหืดได้ ส่วนที่เป็นหน่อรักษาโรคหนองใน โรคไต และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในประเทศฟิลิปปินส์ชาวบ้านเชื่อว่า ไ่ผ่เหลือรักษาโรคดีซ่าน และรากไผ่รักษาโรคไต

ส่วนสำคัญของไผ่ที่ใช้เป็นยาคือ
  • ราก
  • ใบ
วิธีการ นำไปตากแห้ง โดยเฉพาะส่วนยอดอ่อนปลายสุดของใบที่กำลังม้วนอยู่ ถ้ากินสด ๆ จะมีรสหวาน นำไปตากแห้งแล้วชงแบบชาดื่มทุกวันจะทำให้ร่างกายแข็งแรง

วิธีการขยายพันธุ์ไผ่ กรณี :ไผ่ตง

การขยายพันธุ์ไผ่ไผ่ตง สามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธี คือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพราะเมล็ด การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การแยกกอหรือเง้า การชำปล้อง และการปักชำแขนง


การขยายพันธุ์ไผ่ มี 5 วิธีดังต่อไปนี้

1. การเพาะเมล็ด

  • ไผ่ตงนั้นเมื่อแก่แล้วจะออกดอกและตาย ซึ่งปกติไผ่ตงจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม โดยเมล็ดไผ่ตงจะเริ่มแก่และหล่นประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ตงไปเพาะต่อโดยวิธีต่อไปนี้

    • การเก็บเมล็ดพันธุ์
  • เมล็ดไผ่ตงเมื่อแก่จัดจะล่วงลงพื้น เกษตรกรควรถางและกวาดโคนต้น เพื่อสะดวกในการเก็บเมล็ดไผ่ตง
  • คัดเมล็ดที่เสียออกเก็บไว้แต่เมล็ดที่สมบูรณ์
  • นำเมล็ดไผ่ตงมานวดและฝัดเอาเปลือกออก แล้วนำไปตากแดดประมาณ 1 วัน จึงนำไปเพาะได้ (ถ้าต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพราะควรคลุกด้วยสารเคมีเซฟวิน เอส-85 เพื่อป้องกันแมลงมารบกวนและไม่ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้นานเกิน 1 เดือน

    • การเพาะกล้าไผ่ตง
  • เมล็ดไผ่ตงที่จะนำมาเพาะควรจะเอาเปลือกออกก่อนเพื่อให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นและเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
  • นำเมล็ดไผ่ตงไปแช่น้ำไว้ 2 คืน หรือแช่เมล็ดไผ่ตงในน้ำอุ่นก่อนประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้อีก 1 คืน
  • นำเมล็ดไผ่ตงขึ้นจากน้ำแล้วนำมาห่อด้วยผ้า รดน้ำให้ชื้นอย่างสม่ำเสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดไผ่ตงจะเริ่มงอก
  • นำเมล็ดไผ่ตงที่เริ่มงอกแล้วไปเพาะในแปลงที่มีขี้เถ้าแกลบผสมกับ ดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดและกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซ.ม. คลุมแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
  • หลังจากเพาะเมล็ดไผ่ตง 15 วัน จะได้ต้นกล้าที่มีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ให้ย้ายต้นกล้าที่แข็งแรงลงในถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำหรือในที่ร่ม รำไรประมาณ 6-8 เดือน จึงน้ำต้นกล้าไปปลูกและขยายพันะ์ต่อไป




  • 2.วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการนำต้นกล้าที่ได้จากการเมล็ดมาขยาย พันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์รวมทั้งการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มากจาก การเพาะชำกิ่งแขนงออกดอกและตายเพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่จะมีอายุเท่า กับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกก็จะออกดอกตายด้วยเช่นกัน แต่การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคทางวิชาการมาก จึงควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการหรือบริษัทเอกชนที่มีความชำนาญเป็นผู้ ดำเนินการผลิต

    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

    3.การขยายพันธุ์โดยการแยกกอหรือเง้า
  • การชำปล้อง
  • การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะต้องเลือกเหง้าที่มีอายุ 1-2 ปี โดยตัดตอให้สูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับต่อออกจากกอแม่ แต่ต้องระวังอย่าให้ตาที่กอเหง้าแตกเสียหายได้ (เพาะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป) การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มาก จึงมีอัตราการรอดตายสูง ทำให้หน่อแข็งแรงและและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือ ลำ




  • 4.การขยายพันธุ์โดยการชำปล้อง

  • การ ขยายพันธุ์โดยการชำปล้องจะต้องเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนมี 1 ข้อ โดยจะต้องตัดตรงกลางท่อนให้รอยตัดทั้งสองข้างห่าจากข้อประมาณ 1 คืบ และต้องมีแขนงติดอยู่ประ 1 คืบ จากนั้นนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้อยู่ระดับดินและให้ตราหงายขึ้น และต้องระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย เพราะจะทำให้หน่อไม่งอก หลังจากนั้นเทน้ำใส่ปล้องไผ่ตรงให้เต็ม

  • การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอและ ต้องคอยเติมน้ำใส่ให้เต็มปล้องไผ่เสมอ หลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อและรากแข็งแรงเต็มที่ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน ก็ทำการย้ายปลูกได้
    การชำปล้อง

    5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ มีการคัดเลือกดังนี้

  • ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว

  • รากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว

  • ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน

  • ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี

  • การคัดเลือกกิ่งแขนง
    ขั้นตอนในการปักชำ กิ่งแขนง เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ ตัดปลายกิ่งออกให้เหลือ 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก มีขั้นตอนดังนี้
    – เตรียมแปลงเพาะชำโดยการไถพรวนดิน ควรตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ทำการย่อยดินและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ดอนน้ำท่วม ไม่ถึง ถ้าเป็นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี
    – ขุดร่องให้เป็นแนวเหนือ-ใต้ ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้กิ่งแขนงได้รับแสงแดดทั่วทุกด้าน
    – นำกิ่งแขนงปักชำลงในร่องห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบให้แน่น รดน้ำทันที หลังจากชำเสร็จแล้วทำหลังคาด้วยทางมะพร้าวเพื่อบังแดด หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
    – หลังจากปักชำแล้วประมาณ 6-8 เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้ การปักชำกิ่งแขนงอาจดำเนินการเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8×10 นิ้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน


    การขยายพันธุ์ไผ่ตง




    การขยายพันธุ์ไผ่ตง

    พื้นที่ป่าไม้ไผ่ในประเทศไทย

    ประ​เทศ​ไทยมีพื้นที่ป่า​ไม้ไผ่อยู่ประมาณ 2,805,000 ​ไร่ ส่วน​ใหญ่อยู่​ใน​เขตพื้นที่อุทยาน​แห่งชาติ ​และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จังหวัดที่มีป่า​ไผ่มากที่สุดคือ จ.กาญจนบุรี ​แต่​ไม่สามารถนำมา​ใช้ประ​โยชน์​ได้​เนื่องจากอยู่​ใน​เขตอุทยาน​แห่งชาติ จังหวัดที่มี​การปลูก​ไม้​ไผ่​เป็นอุตสาหกรรมคือปราจีนบุรี ปัจจุบันมี​ความต้อง​การกล้า​ไผ่​เพื่อ​ใช้​ใน​การปลูกสร้างสวน​ไผ่​ใน​แต่ ละปี​เป็นจำนวนมาก อย่าง​ไร​ก็ตามกล้า​ไผ่ที่ผลิต​ได้ยัง​ไม่​เพียงพอกับ​ความต้อง​การ ทางกรมป่า​ไม้​ โดยสถานี​เพาะชำกล้า​ไม้ ​ได้จัด​ให้มี​การผลิตกล้า​ไผ่​เพื่อ​แจกจ่าย​ให้กับ​ผู้สน​ใจทุกปี ​แต่​ก็ยัง​ไม่​เพียงพอกับ​ความต้อง​การ​ทั้งหมด ​ในปี พ.ศ. 2551 กรมป่า​ไม้​ได้​แจกกล้า​ไม้​ไผ่​ให้ชาวบ้าน​ไปจำนวนหนึ่ง ประมาณ 250,000 กล้า ประกอบ​ไปด้วย​ไผ่รวก ​ไผซางนวล ​ไผ่หก ​และ​ไผ่​ไร่

    ปัจจุบันกรมป่า​ไม้ มี​โครง​การวิจัย พัฒนา ​และส่ง​เสริม​การปลูก ​การจัด​การ ​และ​การ​ใช้ประ​โยชน์​ไม้ไผ่อย่างยั่งยืน รวม​ถึง​การพัฒนาผลิตภัณฑ์​ไปสู่​ความต้อง​การของตลาด​และภาคอุตสาหกรรมอยู่ หลาย​โครง​การ อาทิ ​การสร้างสวนรวมพันธุ์​ไผ่ ​การขยายพันธุ์ ​การจัด​การสวน​ไผที่มีศักยภาพสูงทาง​เศรษฐกิจ ​การตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะ​โครงสร้าง ​การยืดอายุ​การ​ใช้งานของ​ไผ่​แต่ละชนิด ​การพัฒนาผลิตภัณฑ์​ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ​การวิจัยพัฒนา​การผลิต​ไผ่อัดประสาน​เพื่องานประดิษฐ์กรรม ​ทำ​แผ่น​ไม้ประกอบจาก​ไผ่​เพื่อ​การก่อสร้าง ​การ​ทำ​แผ่นถ่าน​ไม้​ไผ่อัดซี​เมนต์ ​การ​ใช้ประ​โยชน์จากน้ำส้มควัน​ไม้จาก​ไผ่​เพื่อบำบัดน้ำ​เสีย ​การ​ทำถ่านอัด​แท่งจาก​เศษ​ไม้​ไผ่ ​การ​ใช้ประ​โยชน์จาก​ไบ​ไผ่ ​การศึกษา​การจัด​การ​และ​เศรษฐกิจของ​การปลูก​ไผ่ ​เพื่อลด​การ​ใช้​ไผ่จากป่าธรรมชาติ ​และ​เพิ่มพื้นที่ป่า​เพื่อ​การรักษาสิ่ง​แวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย

    ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

    ถ่านไม้ไผ่ช่วยลดโลกร้อนได้

    ปัจจุบันพบว่าอุตสาหกรรมผลิตถ่าน​ไม้​ไผ่กำลังได้รับความนิยมจากเหล่าสาวกผู้รักสุขภาพ อันเนื่องจากผงคาร์บอนที่ผลิต​ได้จากถ่าน​ไม้​ไผ่นั้นมี​ความสามารถอย่างเห็นได้ชัดในการดูดซับกลิ่น ​ความชื้น สารพิษ สาร​เคมี ช่วยฟอกอากาศ ​และกำจัด​แบคที​เรีย ช่วยปลดปล่อยประจุลบ ​และ อินฟรา​เรดคลื่นยาว ช่วยดูดซับรังสี​ ฯ และที่สำคัญสามาถช่วยในการ​การดูดซับ​ในตรัสออก​ไซด์ ​ซึ่ง​เป็นก๊าซที่​ไป​ทำลายชั้น​โอ​โซนที่​เป็น​เกราะป้องกันรังสีอุลตร้า​ไว​โอ​เล็ตของ​โลกมากที่สุดอีกด้วย

    และ​เทค​โน​โลยีที่นำมา​ใช้กับ​ไม้ไผ่ ปัจจุบันนั้นมี​การพัฒนา​ก้าวหน้าขึ้น​เป็นอย่างมาก ​ไม้ไผ่​จึง​ไม่​ได้​เป็น​เพียง​แค่​เท่าที่คนส่วน​ใหญ่รู้จัก​เท่านั้น ตัวอย่าง​เช่น ถ่าน​ไม้​ไผ่คุณภาพสูงที่​ได้จาก​การ​เผ่าที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1,000 องศา​เซียล​เซีย ด้วย​เตา​เผาที่มีประสิทธิภาพ มี​ความสามารถสูง​ใน​การดูดซับกลิ่น ​ความชื้น สารพิษ สาร​เคมี ช่วยฟอกอากาศ ​และกำจัด​แบคที​เรีย ช่วยปลดปล่อยประจุลบ ​และ อินฟรา​เรดคลื่นยาว ช่วยดูดซับรังสี ช่วย​ให้ระบบ​ไหล​เวียนของ​เลือดดีขึ้น มีผล​ให้จิต​ใจ​แจ่ม​ใส ​เบิกบาน ​ใช้​ทำ​เครื่องสำอางรักษาผิว ​ทำสบู่รวม​ถึง​ใช้​ทำถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) ​ซึ่ง​เป็นวัสดุคาร์บอนที่มีพื้นที่ผิวสูงมาก​เนื่องจากมีรูพรุนจำนวนมหาศาล มี​ความสามารถ​ใน​การดูดซับคาร์บอน​และ​ใน​ไตร​เจน​ได้สูงมาก นอกจากนี้ถ่าน​ไม่้ไผ่ยังถูกนำมา​ใช้​เป็นองค์ประกอบ​ในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย ​เช่น อุตสาหกรรมยา ​และ​เครื่องสำอาง ​ใช้​ทำ​ใส้กรองน้ำ ​ใส้กรองอากาศ ​ใช้ปรับปรุงบำรุงดิน ​และ​ใช้​ใน​การบำบัดน้ำ​เสีย ​เป็นต้น

    เพราะฉะนั้นตอนนี้ท่านทั้งหลายเห็นด้วยหรือไม่ว่า เราควรจะมาช่วยกันปลูกไผ่คนละต้น คนละกอไว้ในบ้าน ปลูกไว้เป็นรั้วบ้านก็ได้ เอาไว้ใช้สอย เอาไว้เป็นอาหารและช่วยสร้าง O2 ให้กับบ้านและโลกเรา

    ไม้ไผ่ (bamboo) ช่วยลดโลกร้อน

    ไม้ไผ่(bamboo) ไม่ใช่ต้นไม้ แต่เป็นพืชที่วิวัฒนาการมาจากพืชสกุลหญ้า และมีเนื้อไม้ให้ใช้สอยได้หลากหลาย เป็นพืชมหัศจรรย์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในโลก บางชนิดโตได้ถึง 2 ฟุตต่อวัน หน่อไผ่ นำมาใช้ประกอบอาหาร ลำไผ่ ใช้เป็นวัสดุทดแทนไม้ นอกจากนี้จากงานวิจัยยังพบว่าเมื่อเปรียบเทียบการปลูกต้นไม้ชนิดอื่นและไม้ไผ่​ในพื้นที่​เท่ากันนั้น ​ไม้ไผ่จะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอน​ไดออก​ไซด์​และสร้างก๊าซออกซิ​เจน​ให้​ได้มากกว่า ต้น​ไม้ทั่วๆ​ไป​ถึง 35 %

    และการ​แก้ปัญหาสภาวะ​โลกร้อน ​ไม้ไผ่ ​ก็เป็นพืชที่ถูกจับตามองว่าจะสามารถช่วย​แก้​ไขปัญหาดังกล่าว​ได้​เป็นอย่าง ดี ตามปกติ​แล้ว ต้น​ไม้​ในป่า​และ​ในพื้นที่สี​เขียว​ทั้งหลาย มีคุณสมบัติ​ใน​การตรึงก๊าซคาร์บอน​ไดออก​ไซด์​ไว้ก่อนที่ก๊าซนั้นจะลอยขึ้น ​ไปสะสมอยู่​ในชั้นบรรยากาศ อัน​เป็นสา​เหตุของ​การ​เกิดภาวะ​โลกร้อน ​แต่​ในสถาน​การณ์ปัจจุบัน พื้นที่ป่าทั่ว​โลกถูก​ทำลายมากขึ้น ​ทำ​ให้ก๊าซคาร์บอน​ไดออก​ไซด์สามารถลอยขึ้น​ไปสะสมอยู่​ในชั้นบรรยากาศ​ได้ มากขึ้น ​เป็น​เหตุ​ให้พลังงาน​ความร้อนถูกสะสมอยู่บนผิว​โลก ​และ​ในชั้นบรรยากาศ​เพิ่มขึ้น ​การปลูกต้น​ไม้​เพื่อหวังที่จะ​ให้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอน​ไดออก​ไซด์ต้อง​ ใช้​เวลานานนับสิบปี ​ในขณะที่​การปลูก​ไผ่นั้น​ใช้​เวลาสั้น​เพียง​แค่ 3-5 ปี ​ในพื้นที่ที่​เท่ากัน ป่า​ไผ่มี​ความสามารถ​ใน​การดูซับก๊าซคาร์บอน​ไดออก​ไซด์​และปลดปล่อยก๊าซ ออกซิ​เจน​ในอัตราที่สูงกว่าป่าธรรมชาติทั่ว​ไป 30-35% นับว่า​เป็น​การช่วยลดภาวะ​โลกร้อน​ได้อย่างรวด​เร็ว

    ไม้ไผ่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์สูง พบว่าทั่วโลกมีมากกว่า 80 สกุล มากกว่า 1,500 ชนิด กระจายอยู่หลายประเทศในเขตร้อนชื้น สำหรับประเทศไทยพบว่ามีไผ่ท้องถิ่นอยู่ 17 สกุล 72 ชนิด จัดว่าเป็นพืชมหัศจรรย์ ขึ้นได้ทุกพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ไม้ไผ่บางชนิด เช่น ไผ่ซาง และไผ่ซางนวล พบขึ้นปะปนกับต้นสักในป่าผสมแบบผลัดใบ ไผ่บางชนิด เช่น ไผ่บงใหญ่ ไผ่เป๊าะ และไผ่ข้าวหลาม พบขึ้นในป่าดิบชื้น ในขณะที่ไผ่รวก มักขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรังจึงเป็นพืชที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการสนับสนุน ให้ปลูกเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะไม้ไผ่​เป็นพืชที่​เป็นมิตรกับสิ่ง​แวดล้อม ​เป็น​ไม้​เบิกนำที่สามารถขึ้น​ได้บนพื้นที่ว่าง​เปล่า ​จึงสามารถช่วยปรับปรุงสภาพของระบบนิ​เวศน์​ในบริ​เวณป่าที่ถูก​ทำลาย​ได้​ ในระยะ​เวลารวดเร็วเพราะมีระบบรากที่​แผ่กว้าง ช่วยป้องกัน​การชะล้าง​และ​การกัด​เซาะพังทลายของหน้าดิน​ได้ดี ​โดย​เฉพาะบริ​เวณริมคลอง​หรือริมตลิ่ง ​และยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของดิน​ให้ดีขึ้น อัน​เป็นที่มาของดินขุย​ไผ่ ​เป็นดินที่มี​ความอุดมสมบูรณ์สูง

    ที่มา : หนังสือตั้งตัว ฉบับที่ 5